by Tutor Benz Dev
เมื่อ 11 ธ.ค. 2561
2927 ครั้ง
เอาล่ะครับน้องๆ ตอนนี้ก็ใกล้สอบวิชาสามัญเข้าไปทุกทีแล้วแต่ยังมีน้องหลายคนที่ยังไม่เข้าใจว่า เอ๊ะ??? วิชาสามัญคืออะไรกันนะ งั้นวันนี้...พี่เบนซ์จาก เรียนออนไลน์ เอ็มซีแสควร์จะมาชี้ชัดจัดหนักให้น้องๆได้กระจ่างกันไปเลยว่า 9 วิชาสามัญนั้นคืออะไรแล้วสำหรับวิชาฟิสิกส์นี้น้องๆ ต้องเตรียมตัวกันยังไง??? ถ้าพร้อมแล้วเลื่อนลงไปอ่านด้านล่างได้เลยคร๊าบบ ^^
9 วิชาสามัญหรือเดิมที่เราเรียกว่า 7 วิชาสามัญ เป็นการสอบที่ใช้แทนการสอบตรงเข้าสู่มหาวิทยาลัย คือแทนที่มหาวิทยาลัยจะจัดสอบเอง ส.ท.ศ. จึงจัดการสอบวิชาสามัญนี้ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นข้อสอบกลาง ซึ่งน้องสามารถนำคะแนนสอบไปยื่นกับมหาวิทยาลัยได้ โดยที่น้องไม่ต้องวิ่งวุ่นเสียเวลาไปสอบที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ โดย 9 วิชาสามัญนี้แต่ละคณะจะสอบไม่เหมือนกันนะครับ น้องต้องไปดูในระเบียบการรับตรงของแต่ละมหาวิทยาลัย ว่าคณะที่น้องจะเข้า ต้องใช้คะแนนวิชาสามัญวิชาใดบ้าง ก็เลือกสอบเฉพาะวิชาที่น้องต้องใช้ยื่นคะแนน ส่วนใหญ่แล้ว คณะสายวิทย์จะใช้ 5-7วิชา ส่วนสายศิลป์จะใช้เพียง 3-5 วิชาประมาณนี้นะครับ
เอ๊ะ...แล้ว 9 วิชาที่ว่านี้มันมีวิชาอะไรบ้าง???
ง่ายๆเลยน้องครับคือมี 7 วิชาหลัก ได้แก่ คณิต1 ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ อังกฤษ ไทย สังคม และอีก 2 วิชาที่เพิ่มมาภายหลังสำหรับเด็กสายศิลป์โดยเฉพาะคือ คณิตศาสตร์2 และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
"อย่าเข้าใจผิดนะครับว่าคะแนน 9 วิชาสามัญนี้สามารถใช้ยื่นได้ทุกที่"
ไม่ใช่ทุกมหาวิทยาลัยนะคับที่รับพิจารณาคะแนน 9 วิชาสามัญ ตอนนี้มหาวิทยาลัยที่พี่ได้สำรวจมาแล้วว่าใช้คะแนน 9 วิชาสามัญยื่นได้มีตามนี้เลยครับ
"ใกล้สอบแล้วแต่รู้สึกตัวเองยังไม่พร้อมเลย...ทำไงดี???"
อย่ากังวลไปคับ วันนี้พี่จะมาวิเคราะห์เจาะลึกข้อสอบวิชาสามัญ ฟิสิกส์ให้น้องๆได้ดูกันคับว่า...ลักษณะข้อสอบเป็นอย่างไร? ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันข้อสอบออกอะไรบ้าง แต่ละบทออกหัวข้ออะไร มาก-น้อยแค่ไหน? แล้วถ้าอยากเพิ่มโอกาสในการสอบติดคณะที่ต้องการน้องควรจะทำคะแนนสอบได้เท่าไหร่ ว่าแล้วก็ไปดูกันเลยดีกว่าคร๊าบบ
ส่วนที่ 1 : ลักษณะของข้อสอบวิชาสามัญฟิสิกส์
โอเคคับส่วนนี้เราจะมาพูดถึงลักษณะของข้อสอบวิชาสามัญฟิสิกส์กัน เพื่อให้น้องได้รู้จักแบบคร่าวๆกันก่อน ในส่วนของตัวข้อสอบก็จะเป็น ข้อสอบปรนัย 5 ตัวเลือก มีทั้งหมด 25 ข้อ รวม 100 คะแนนและใช้เวลาในการสอบ 1 ชั่วโมงครึ่ง หลายคนอึ้งกันเลยที่เดียวเพราะถ้าน้องลองบวก ลบ คูณ หารเพื่อหาเวลาที่น้องต้องใช้แต่ละข้อก็จะพบว่าถ้าต้องการทำให้ทันน้องต้องใช้เวลาเฉลี่ยข้อละ 3 นาทีครึ่ง ซึ่งพี่ว่าด้วยระดับข้อสอบที่ความยากอยู่ระหว่าง ONET กับ PAT2 เวลาข้อละ 3 นาทีครึ่งถือว่าไม่มากและไม่น้อยจนเกินไปที่น้องจะทำเสร็จทัน และด้วยลักษณะของข้อสอบที่ส่วนใหญ่ choice จะตอบติดอยู่ในรูปตัวแปร ซึ๋งพี่ว่าดีนะ เพราะน้องกำลังสอบวิชาฟิสิกส์ กระบวนการคิดหาคำตอบมันก็น่าจะจบที่ฟิสิกส์ถูกมั้ยครับ แต่กลับกันน้องหลายๆคนบ่นว่าไม่ชอบเพราะไม่คุ้นเคยกับโจทย์ตัวแปรลักษณะนี้ คือชอบที่จะคำนวณหาคำตอบที่อยู่ในรูปตัวเลขมากกว่า อันนี้พี่คงต้องขอให้น้องปรับตัวนิดนึง เพราะเท่าที่พี่ทำมาทุกปี ข้อสอบทั้ง 125 ข้อ รวมๆแล้วเป็นโจทย์ที่ choice ติดตัวแปรเกิน 70% ของจำนวนข้อสอบทั้งหมดที่เหลืออีก 30% เป็นข้อสอบถามทฤษฎีกับมีข้อที่ต้องคำนวณบ้างประปราย
ส่วนที่ 2 : สถิติคะแนนวิชาสามัญฟิสิกส์ย้อนหลัง 3 ปี เป็นอย่างไร???
เอาล่ะคับน้องๆ ทีนี้เราลองมาดูสถิติข้อสอบย้อนหลัง 3 ปีกันบ้าง สำหรับวิชาสามัญฟิสิกส์นั้นเมื่อนำคะแนนสอบของผู้เข้าสอบมาสรุปเป็นตารางแจกแจงความถี่แล้วคำนวณค่าทางสถิติต่างๆออกมาเปรียบเทียบกัน 3 ปี ตามกราฟด้านล่าง พบว่า
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 57 เป็นต้นมา จำนวนผู้เข้าสอบที่ได้คะแนนในช่วง 90 - 100 ของวิชาชีวะและเคมีนั้นมีน้อยกว่าฟิสิกส์ ยิ่งชีวะปี 58 ไม่มีคนทำคะแนนสอบได้เกิน 90 เลย ดังนั้นก็จะเห็นได้ว่าในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์เป็นวิชาที่น้องมีโอกาสทำคะแนนได้สูงกว่า เพราะฉะนั้นอย่าทิ้งอย่าเทนะครับน้องๆ เพราะอย่าลืมว่า 1 คะแนนก็สามารถเปลี่ยนคณะได้เหมือนกันนะครับ
ส่วนที่ 3 : วิเคราะห์ข้อสอบสามัญ ฟิสิกส์ ปี 60
มาคับน้อง ถึงตอนสำคัญสุดจุดไคลแมกซ์ของเจาะลึกข้อสอบสามัญฟิสิกส์กันแล้ว นั่นก็คือ...พี่จะพาน้องมาวิเคราะห์ข้อสอบกันว่า สำหรับวิชาสามัญฟิสิกส์ปี 60 นี้ข้อสอบมีแนวโน้มว่าจะออกอะไรบ้าง ก็แน่นอนครับ อย่างที่น้องรู้อยู่แล้วว่าฟิสิกส์ที่เราเรียนกันตอนม.ปลายมีทั้งหมด 22 บท แต่ข้อสอบวิชาสามัญฟิสิกส์มี 25 ข้อ นั่นก็หมายความว่า แต่ละบทถ้าออกสอบจะได้โควต้าแค่บทละข้อ!!! บางบทอาจจะได้ 2 ข้อ แต่เนื่องจากอย่างที่น้องรู้กันดีว่า ฟิสิกส์ทุกบทจะมีหัวข้อย่อยอีกมากมาย ถ้าได้โควต้าแค่บทละ 1 ข้อ แล้วจะอ่านหัวข้อไหนดีล่ะ? ต้องอ่านทั้งหมดเลยมั้ย? คงไม่ทันแน่ๆกับเวลาที่เหลือ ดังน้นพี่จึงนำบทต่างๆ มาคัดแยกแล้วทำสรุปเป็นตารางให้น้องดูกันว่าตั้งแต่ครั้งแรกปี 55 จนถึงการสอบครั้งล่าสุดคือปี 59 แต่ละบทถูกหยิบมาออกข้อสอบมาก - น้อยแค่ไหน บทใดที่น้องต้องเน้นเป็นพิเศษ ว่าแล้วก็ไปดูกันเลยดีกว่าคับ
เอาล่ะน้องคับ จากตารางน้องจะเห็นว่าบทที่เป็นเต็ง 1 เลยในการออกข้อสอบซึ่งไม่เคยหายไปจากการสอบวิชาสามัญฟิสิกส์ก็คือ แสง, เสียง และ ไฟฟ้าสถิต เพราะออกทุกปี เฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 2 ข้อ เต็ง 2 รองลงมาก็คือกลุ่มสมบัติของสสาร ที่เน้นก็คือของไหล ที่ระยะหลังๆ มามีแนวโน้มการออกข้อสอบสูงขึ้นเรื่อยๆ ปี 59 ออก 4 ข้อเลยทีเดียว แต่แนวโน้มในการออกไม่สม่ำนะน้องคับ เพราะบางปีก็ไม่มีเลย ที่น่าสนใจก็คือกลศาสตร์เป็น part ที่ใหญ่มากของวิชาฟิสิกส์เพราะมีถึง 9 บท แต่เมื่อเทียบกับ part คลื่น และ ไฟฟ้าแล้วพบว่ากลับมีเปอร์เซ็นต์การออกสอบน้อยกว่าซะอีก ซึ่งในส่วนของกลศาสตร์นี้พี่ขอแนะนำ 4 บทที่ควรจะเน้นอ่านก่อนคือ งาน & พลังงาน(เน้นกฏการอนุรักษ์พลังงาน), กฎของนิวตัน(เน้นกฎข้อ 2 ของนิวตัน ระบบมวลรวมและระบบรอก), การเคลื่อนที่แบบวงกลม (เน้นวงกลมแนวราบ แนวดิ่ง) และ ซิมเปิ้ลฮาร์มอนิค (การหาคาบ & ความถี่) หลายคนดูตารางแล้วก็จะงงว่างาน & พลังงานออกไม่เยอะแล้วก็ไม่สม่ำเสมอเลยทำไมพี่ถึงแนะนำให้อ่าน ก็เพราะว่าบทนี้มันมักจะนำไปออกข้อสอบร่วมกับบทอื่นๆ โดยเฉพาะกฏทรงพลังงานที่ข้อสอบบางปีน้องต้องหยิบมันมาใช้ 3 - 4 ครั้ง ดังนั้นสรุปบทที่พี่แนะนำว่าต้องได้ก่อนสอบวิชาสามัญคือ
ในส่วนของอะตอมนี้พี่คิดว่าเป็นบทที่เก็บคะแนนง่ายมาก ก็เลยขอแถมให้เป็นบทที่ 12 ให้น้องดูเผื่อไว้ด้วย สำหรับหัวข้อโฟโตอิเล็กทริกนั้นไม่ได้ออกสอบมานานมากแล้ว ทั้งๆที่ข้อสอบสนามอื่นถือเป็นพระเอกลำดับต้นๆของบทนี้ เลยอยากให้น้องอ่านเพิ่มเข้าไปด้วย แต่บทอื่นก็ทิ้งไม่ได้นะครับ เพราะในเมื่อเราไม่รู้ว่าข้อสอบจะออกอะไรก็หมายความว่าสามารถออกอะไรก็ได้ แต่ที่พี่นำมาวิเคราะห์ให้ดูนี้ก็เพราะต้องการช่วยให้น้องๆจับจุดได้ถูก รู้ว่าจากแนวโน้มของข้อสอบที่ผ่านมาน้องจะต้องรู้ ต้องเน้นเรื่องอะไรเป็นพิเศษบ้าง แต่ทุกอย่างน้องต้องเป็นคนคิดและตัดสินใจเองนะครับว่าเมื่อรู้ข้อมูลตรงนี้แล้วน้องจะตัดสินใจทำอะไรกับมัน สำคัญที่สุดก็คือวิชาฟิสิกส์เป็นวิชาของการฝึกฝน หมายความว่าแค่อ่านหนังสืออย่างเดียวไม่พอ น้องต้องฝึกจับเวลาทำโจทย์ด้วย ซึ่งการทำโจทย์นี้จะช่วยให้น้องมองเห็นแนวโน้มของข้อสอบว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบันข้อสอบมีวิวัฒนาการเป็นอย่างไร ออกอะไรบ้าง ต้องอ่านบทไหนหัวข้อใดเป็นพิเศษ และประเมินตัวเองได้เลยว่าจากข้อสอบเก่าที่เราได้ฝึกทำ เราทำทันเวลาหรือไม่ ได้ประมาณกี่คะแนนและอะไรคือจุดอ่อนที่น้องต้องแก้ไข สำหรับน้องคนไหนที่กำลังมองหาโจทย์วิชาสามัญฟิสิกส์ทำอยู่ พี่ได้รวบรวมไว้ให้เรียบร้อยแล้วทุกปีน้องสามารถเข้าไปดาวน์โหลดข้อสอบมาทำได้เลยฟรีๆ โดยคลิกเข้าไปดูวิดีโอเฉลยของแต่ละปี ในส่วนของคำอธิบายใต้วิดีโอจะมีลิ้งค์ให้ดาวน์โหลด (โหลดแล้วอย่าลืมแชร์โพสต์นี้ให้เพื่อนๆดูด้วยนะครับ ^^)
ท้ายนี้พี่ขออวยพรให้น้องทุกคนที่ต้องใช้คะแนนวิชาสามัญไปยื่นรับตรงกับมหาวิทยาลัย ทำคะแนนสอบได้ดีเพื่อเอาไปยื่นแล้วติดในคณะและสาขาที่ทุกคนต้องการนะครับ วันนี้พี่เบนซ์ก็ขอจบการวิเคราะห์ข้อสอบฟิสิกส์วิชาสามัญไว้เพียงเท่านี้ก่อน แล้วพบกันใหม่ สวัสดีคร๊าบบ ^^